สายพันธุ์ปลาโลมา
ปลาโลมาหลังโหนกนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับปลาโลมาปากขวดทั่วๆไป และยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไรสีของมันก็จะจางลงไปเรี่อย ๆ โคนครีบหลังนั้นจะเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง และในบางครั้งนั้นเราอาจพบว่าฐานครีบนั้นมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ซึ่งในทะเลนั้นเราสามารถสังเกตเห็นปลาโลมาชนิดนี้ได้ซึ่งจะมีลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีทองขาวบนหลังครีบนั้นเป็นโหนก
ปลาโลมาอิรวดี นั้นมีลักษณะที่คล้ายกันกับ ปลาวาฬ Delphinapterus leucas ที่มีความสัมพันธ์แบบกล้ชิดกันกับปลาวาฬนักล่า Orcinus orca ซึ่งหัวของปลาโลมาอิรวดีนั้นจะมีลักษณะที่กว้าง ไม่มีรอยหยัก ครีบหน้านั้นจะเล็กส่วนครีบบนหลังนั้นจะเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งมน มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีสีเทาดำ ถึงสีเทาสว่าง ลำตัวมีความยาวประมาณ 275 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยออกมาแล้วมีความยาว 210 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 115 – 130 กิโลกรัม
ปลาโลมาริซโซส์

ปลาโลมาริซโซส์นั้นจะมีขนาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของตระกูล ซึ่งเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาด ประมาณ 4 เมตร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งร่างกายส่วนหน้านั้นจะมีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก ครีบส่วนหน้าจะเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกายปลาโลมา ส่วนหัวนั้นจะมีรูปร่างแบบกระเปาะ และ มีรอยย่นในแนวตรงยาวของพื้นที่ส่วนหน้า สีจะเปลี่ยนไปตามอายุขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงอายุไม่มากจะมีสีเทาถึงน้ำตาล หลังจากนั้นก็จะมีสีดำ และเริ่มมีสีสว่างขึ้นเรื่อยๆพร้อมกับการเข้าสู่วัยเจริญเติบโต
ปลาโลมาปากขวด
ปลาโลมาปากขวดนั้นได้มีการบันทึกไว้ว่าเป็นปลาโลมาที่มีลำตัวขนาดกลาง ร่างกายกำยำ มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาว 2- 3.8 เมตร มีน้ำหนัก 220 – 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย 242 กิโลกรัม) แต่จะมีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งขนาดของร่างกายจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงที่ตรงกันข้ามกันกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วนของโลมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น